Cyber Security

แคมเปญโฆษณาใหม่ของ Kaspersky บน BTS และ MRT ในประเทศไทย

Kaspersky โดยบริษัท ไอคอม เทค จำกัด ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายอย่างเป็นทางการในประเทศไทยเปิดตัวแคมเปญโฆษณาใหม่บน BTS และ MRT เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ เพื่อปกป้องข้อมูลสำคัญทั้งของตนเอง และของธุรกิจ ข้อความโฆษณาที่แสดงบน BTS และ MRT เราเลือกใช้ประโยค มีมีความโดดเด่นและชัดเจน เพื่อดึงดูดความสนใจ และกระตุ้นให้เกิดการตระหนักรู้และการป้องกันที่ดีขึ้นจากภัยคุกคามที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง “โดนหรือยัง! ป้องกันมั๊ย?” > เพื่อเน้นความเร่งด่วนและความจำเป็นในการป้องกันตัวเองจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยเนื้อหาเป็นการถามว่า “คุณเคยโดนไวรัสหรือมัลแวร์บ้างไหม?” และส่งเสริมให้ผู้ชมดำเนินการป้องกันตัวเองจากเหตุการณ์ดังกล่าว ด้วยการใช้ Kaspersky เป็นมาตรการเชิงรุกในการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ “ธุรกิจพร้อมโดน Ransomware แค่ไหน?”, “S M L XL จะไซส์ไหนก็ป้องกันได้” > สำหรับกลุ่มธุรกิจ ประโยคนี้ตั้งคำถามถึงความพร้อมของธุรกิจในการรับมือกับการโจมตีของ Ransomware เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามดังกล่าว และเน้นความสำคัญของการมีมาตรการความปลอดภัยที่เข้มงวด และใช้ผลิตภัณฑ์ Kaspersky เพื่อป้องกันธุรกิจจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ และว่าไม่ว่าธุรกิจของคุณจะมีขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ หรือใหญ่มาก Kaspersky สามารถให้การป้องกันได้ โดยเน้นความสามารถของโซลูชั่นความปลอดภัยของ Kaspersky

แคมเปญโฆษณาใหม่ของ Kaspersky บน BTS และ MRT ในประเทศไทย Read More »

เหตุผลที่ธุรกิจ SME จำเป็นต้องมีโซลูชันด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์

เหตุผลที่ธุรกิจ SME จำเป็นต้องมีโซลูชันด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว การดำเนินธุรกิจแบบดั้งเดิมกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างมาก การปรับตัวให้เข้ากับการใช้เทคโนโลยีไม่ใช่แค่ทางเลือก แต่เป็นความจำเป็น โดยเฉพาะสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) การมีโซลูชันด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ มาดูกันว่าทำไมโซลูชันด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์จึงมีความสำคัญสำหรับ SME 1. ป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ (Cyber Attacks) การโจมตีทางไซเบอร์ไม่เพียงแต่เกิดขึ้นกับองค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น แต่ธุรกิจขนาดเล็กก็เป็นเป้าหมายเช่นกัน การไม่มีมาตรการป้องกันที่เพียงพออาจนำไปสู่การสูญเสียข้อมูลสำคัญ การถูกขโมยทรัพย์สินทางปัญญา และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับชื่อเสียงของธุรกิจ 2. การปกป้องข้อมูลลูกค้า (Customer Data Protection) ธุรกิจ SME มักเก็บข้อมูลลูกค้าในระบบคอมพิวเตอร์ การที่ข้อมูลเหล่านี้ถูกขโมยหรือถูกทำลายอาจทำให้ลูกค้าเสียความเชื่อมั่น การมีโซลูชันด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ช่วยปกป้องข้อมูลลูกค้าและสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยของข้อมูล 3. การปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรฐาน (Compliance with Laws and Standards) กฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยข้อมูล เช่น GDPR, PDPA หรือ ISO 27001 มีข้อกำหนดที่ธุรกิจต้องปฏิบัติตาม การมีโซลูชันด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ช่วยให้ธุรกิจสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดเหล่านี้ได้อย่างถูกต้อง 4. ลดความเสี่ยงและค่าใช้จ่าย (Risk and Cost Reduction) การโจมตีทางไซเบอร์อาจนำไปสู่ความสูญเสียทางการเงินอย่างมหาศาล การลงทุนในโซลูชันด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์สามารถลดความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาหลังจากการถูกโจมตี

เหตุผลที่ธุรกิจ SME จำเป็นต้องมีโซลูชันด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ Read More »

Kaspersky สกัดกั้นภัยคุกคามต่อ SME ในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น แค่ครึ่งแรกของปี 2566 มีจำนวนถึง 2,375 รายการ สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วถึง 257.68% !!!

SME Cyber Attack in thailand 2023 ผลกระทบของการโจมตีทางไซเบอร์ต่อ SME ส่งผลให้เกิดการสูญเสียทางการเงิน ความเสียหายต่อชื่อเสียง และแม้กระทั่งการปิดธุรกิจในบางกรณี ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องจัดลำดับความสำคัญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับ SME เพื่อปกป้องสินทรัพย์ดิจิทัล รักษาความไว้วางใจของลูกค้า  จากรายงานของแคสเปอร์สกี้ สถิติภัยคุกคาม SME สำหรับประเทศไทยตั้งแต่เดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 แสดงให้เห็นว่า พนักงาน SME จำนวน 251 รายในประเทศไทยประสบปัญหามัลแวร์หรือซอฟต์แวร์ไม่พึงประสงค์ซึ่งปลอมตัวเป็นแอปพลิเคชันทางธุรกิจ จำนวนการตรวจพบไฟล์ทั้งหมดมากถึง 2,375 รายการ การโจมตีด้วยมัลแวร์เป็นอันตรายต่อธุรกิจขนาดเล็ก นอกจากการสูญเสียข้อมูลทางธุรกิจแล้ว ยังสามารถทำลายอุปกรณ์ให้เสียหาย บริษัทต้องจ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าเปลี่ยนอุปกรณ์ มัลแวร์ยังช่วยให้ผู้โจมตีเข้าถึงและขโมยข้อมูลได้ ทำให้ทั้งลูกค้าและพนักงานตกอยู่ในความเสี่ยง หลายคนคิดว่า องค์กรขนาดใหญ่ดึงดูดอาชญากรไซเบอร์ได้มากกว่า แต่ในความเป็นจริงแล้ว อาชญากรไซเบอร์ มักมุ่งเป้าไปที่ผู้ที่ได้รับการคุ้มครองน้อย และ SME มักจะมีทรัพยากรที่จำกัดและอาจไม่มีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เพียงพอ ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น คำแนะนำในการป้องกันธุรกิจของคุณ ธุรกิจต่างๆ จึงต้องตื่นตัวอยู่เสมอ เพื่อปกป้องธุรกิจของคุณจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ เราขอแนะนำให้คุณทำดังต่อไปนี้:

Kaspersky สกัดกั้นภัยคุกคามต่อ SME ในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น แค่ครึ่งแรกของปี 2566 มีจำนวนถึง 2,375 รายการ สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วถึง 257.68% !!! Read More »

แรนซัมแวร์ ติดอันดับท็อปมัลแวร์ ตลอด 7 ปีที่ผ่านมา

ทีม Kaspersky Digital Footprint Intelligence นำเสนอผลการศึกษาใหม่ที่เปิดเผยว่าแรนซัมแวร์เป็น Malware-as-a-Service (MaaS) ที่แพร่หลายมากที่สุดในช่วง7 ปีที่ผ่านมา ( อ้างอิงจากการวิจัยที่ดำเนินการเกี่ยวกับตระกูลมัลแวร์ 97 ตระกูลที่เผยแพร่บนเว็บมืดและแหล่งข้อมูลอื่นๆ) Ransomware เป็น Malware-as-a-Service ที่ได้รับความนิยมสูงสุด Malware-as-a-Service (MaaS) เป็นรูปแบบธุรกิจผิดกฎหมายซึ่งเกี่ยวข้องกับการให้เช่าซอฟต์แวร์เพื่อดำเนินการโจมตีทางไซเบอร์ ลูกค้าของบริการจะได้รับบัญชีส่วนบุคคลซึ่งพวกเขาสามารถควบคุมการโจมตีได้ เช่นเดียวกับการสนับสนุนด้านเทคนิค แรนซัมแวร์ เป็นที่นิยมมาก เพราะความสามารถในการสร้างผลกำไรที่สูงในระยะเวลาที่สั้นกว่าเมื่อเทียบกับมัลแวร์ประเภทอื่นๆ เพื่อปกป้ององค์กรของคุณ ผู้เชี่ยวชาญของ Kaspersky แนะนำว่า 👉อัปเดตซอฟต์แวร์บนอุปกรณ์ทั้งหมดที่คุณใช้อยู่เสมอ เพื่อป้องกันการแทรกซึมเข้าสู่เครือข่าย โดยใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ ติดตั้งแพตช์สำหรับช่องโหว่ใหม่โดยเร็วที่สุด เพราะผู้คุกคามจะไม่สามารถใช้ช่องโหว่นี้ในทางที่ผิดได้อีกต่อไป👉เปิดรับข้อมูลข่าวสาร สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับภัยคุกคาม เพื่อวิเคราะห์ กำหนดกลยุทธิ์ หรือปรับการป้องกันด้านความปลอดภัย ให้สอดคล้อง ใช้มาตรการตอบโต้และกำจัดอย่างทันท่วงที เพื่อรักษาทรัพยากร ข้อมูลสำคัญของบริษัท ☑️เพื่อป้องกันข้อมูลสำคัญของธุรกิจ จากภัยออนไลน์ ผู้ประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชน รับสิทธิซื้อ Kaspersky ราคาพิเศษ สอบถามเพิ่มเติม และสั่งซื้อได้ที่ฝ่ายดูแลลูกค้าองค์กร 02-203-7599Line ID: @thaikaspersky Kaspersky

แรนซัมแวร์ ติดอันดับท็อปมัลแวร์ ตลอด 7 ปีที่ผ่านมา Read More »

การโจมตีทางไซเบอร์ ในธุรกิจ SMB ครึ่งปีแรกของ 2566

จากรายงาน เพียงครึ่งปีแรกของ 2566พบพนักงานในธุรกิจ SMB กว่า 2,500 คนถูกโจมตีด้วยอาชญากรรมทางไซเบอร์ดังต่อไปนี้ —————————————————- Exploit ใช้ข้อบกพร่องหรือช่องโหว่ของระบบ• ตลอดทั้งปีที่ผ่านมา ตรวจพบพฤติกรรมนี้ มากถึง 484,000 ครั้ง• ใช้มัลแวร์ ไวรัส โปรแกรมที่เป็นอันตราย พุ่งเป้าโจมตีไปยังช่องโหว่ของซอฟต์แวร์• แทรกซึมเข้าไปในคอมพิวเตอร์ได้โดยที่ผู้ใช้ไม่รู้ตัว• สามารถเรียกใช้งานไวรัส มัลแวร์ ตัวอื่นๆ เช่น ทำให้โปรแกรม/แอพลิเคชั่นขัดข้อง เพื่อการเข้าถึงที่ง่ายขึ้น โจมตีได้รุ่นแรงมากขึ้น —————————————————-Trojans• ใช้ภัยคุกคามประเภทที่ปลอมตัวเข้าสู่ระบบได้แบบแนบเนียน•  ทำกิจกรรมที่เป็นอันตราย เช่น การลบข้อมูล การแก้ไขเปลี่ยนแปลง การบล็อกหรือปิดกั้นและรบกวนการทำงานของคอมพิวเตอร์ —————————————————-Phishing และ scam• ใช้กลอุบาย การหลอกลวงทางออนไลน์ ให้พนักงานส่งข้อมูลส่วน ข้อมูลทางธุรกิจ ข้อมูลการเงินเช่น การปลอมเว็บธนาคาร, การขนส่ง การบริการสินเชื่อต่างๆ —————————————————-Backdoors• อนุญาตให้อาชญากรไซเบอร์ควบคุมอุปกรณ์จากระยะไกล• เปิดสิทธิ์การติดตั้ง, ลบไฟล์ และการดำเนินการต่างๆ ต่างๆ โดยไม่ได้รับอนุญาต• อำนวยความสะดวก ให้ง่ายต่อการเก็บรวบรวมข้อมูล, บันทึกกิจกรรมการใช้งาน

การโจมตีทางไซเบอร์ ในธุรกิจ SMB ครึ่งปีแรกของ 2566 Read More »

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า