infographic

Kaspersky เผยยอดไตรมาส 2 พบเหตุการณ์ภัยคุกคามเกือบ 200,000 ครั้ง มาจากเซิร์ฟเวอร์ในไทย

จากรายงานไตรมาสที่ 2 ของปี 2024 เปิดเผยการเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจของเหตุการณ์อันตรายที่เกิดจากเซิร์ฟเวอร์ที่มีโฮสต์ในประเทศไทย โดยในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2024 (เดือนเมษายน – มิถุนายน) Kaspersky ตรวจพบการโจมตีทางไซเบอร์จำนวน 196,078 รายการ ซึ่งเพิ่มขึ้น 203.48% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ที่มีจำนวน 64,609 รายการ มื่อพิจารณาเป็นรายไตรมาส จากตัวเลขดังกล่าว เพิ่มขึ้น 24.15% เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (เดือนมกราคม – มีนาคม) ซึ่งมีจำนวน 157,935 รายการ ในปี 2023 ภัยคุกคามทางไซเบอร์ในประเทศไทยเพิ่มขึ้น 114.25% เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว หน่วยงานด้านการศึกษาเป็นกลุ่มที่ถูกโจมตีบ่อยที่สุด (632 เหตุการณ์) รองลงมาคือหน่วยงานรัฐบาลอื่น ๆ (461 เหตุการณ์) ตามด้วยผู้ประกอบการเชิงพาณิชย์และบริษัทเอกชน (148 เหตุการณ์) และธนาคารและการเงิน (148 เหตุการณ์) ภัยคุกคามที่พบได้บ่อยในปี 2023 ได้แก่ การโจมตีที่เกี่ยวข้องกับการพนันออนไลน์ รองลงมาคือการแฮ็กเพื่อเปลี่ยนแปลงหน้าเว็บ (defacement)

Kaspersky เผยยอดไตรมาส 2 พบเหตุการณ์ภัยคุกคามเกือบ 200,000 ครั้ง มาจากเซิร์ฟเวอร์ในไทย Read More »

Wi-Fi ปลอมบนเครื่องบิน แนวทางป้องกันการเชื่อมต่อกับ #WiFi ปลอมในเที่ยวบินและที่ #สนามบิน

แม้จะอยู่บนที่สูง ภัยคุกคามทางไซเบอร์ก็ยังคงต้องโจมตีชีวิตดิจิทัลของคุณได้ เห็นได้จากข่าวการจับกุมเมื่อเร็วๆ นี้ ที่ออสเตรเลียผู้โดยสารคนหนึ่งถูกจับกุมในข้อหาติดตั้ง Wi-Fi hotspots ปลอม ทั้งที่สนามบินและบนเครื่องบินระหว่างเที่ยวบิน Evil twins จุดเชื่อมต่อ Wi-Fi ที่เป็นอันตรายซึ่งดักจับข้อมูลของผู้ใช้ กำลังกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง  Evil twins คือ Wi-Fi hotspots ปลอมที่ถูกสร้างขึ้นมาให้ดูเหมือนกับของจริง เมื่อผู้ใช้งานเชื่อมต่อกับ WiFi ปลอมนี้ แฮกเกอร์สามารถดักจับข้อมูลที่ผู้ใช้งานส่งผ่านเครือข่ายนั้นได้ เช่น รหัสผ่าน ข้อมูลบัตรเครดิต หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการตกเป็นเหยื่อของ Evil twins ควรตรวจสอบชื่อเครือข่าย WiFi ให้แน่ใจว่าถูกต้อง และใช้ VPN เพื่อเข้ารหัสข้อมูลที่ส่งผ่านเครือข่ายสาธารณะ ในปัจจุบัน ผู้โดยสารมีแนวโน้มที่จะใช้ Wi-Fi บนเที่ยวบินมากขึ้น เพราะสายการบินต่างๆ หันมาเสนอความบันเทิงที่สตรีมโดยตรงไปยังอุปกรณ์ของผู้โดยสารมากขึ้นเรื่อยๆ แทนที่จะส่งไปที่หน้าจอเบาะที่นั่ง หลังจากเครื่องขึ้นบิน เชื่อมต่อกับ Wi-Fi  เปิดเบราว์เซอร์ก็เข้าสู่พอร์ทัลสื่อของสายการบินได้แล้ว และหากผู้โดยสารที่ไม่ทันระวังตัวได้เชื่อมต่อไปยังเครือข่ายปลอม จะถูกนำไปยังหน้ายืนยันตัวตนปลอม หน้านี้ขอที่อยู่อีเมลและรหัสผ่าน! หรือข้อมูลรับรองเครือข่ายโซเชียล ซึ่งอ้างว่าเพื่อลงชื่อเข้าใช้บริการออนไลน์ของสายการบิน ตามรายงานของตำรวจ

Wi-Fi ปลอมบนเครื่องบิน แนวทางป้องกันการเชื่อมต่อกับ #WiFi ปลอมในเที่ยวบินและที่ #สนามบิน Read More »

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า